ศัลยกรรมเสริมหน้าอก
ปัจจุบันผู้หญิงได้ให้ความสำคัญกับรูปร่างมากขึ้น การเสริมหน้าอก จึงเป็นศัลยกรรมอันดับต้นๆ ที่ผู้หญิงหลายคนเลือกทำ เพื่อช่วยให้รูปร่างได้สัดส่วนมากขึ้นเพราะมีส่วนโค้งส่วนเว้า และง่ายต่อการแต่งตัว เนื่องจากหน้าอกก็เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่แสดงความเป็นตัวตนของเพศหญิงได้ชัดเจน ปัจจุบันการแพทย์ด้านศัลยกรรมความงามได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ศัลยกรรมเสริมหน้าอก ทำนมเป็นที่นิยมไม่น้อยไปกว่าการศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าเลยทีเดียว
การเสริมหน้าอก (ทำนม) โดยใช้ถุงเต้านมเทียม (Breast implant) ทางมาสเตอร์พีซคลินิกเลือกใช้ของยี่ห้อจากอเมริกา ได้แก่ Mentor โดยเป็นซิลิโคนที่ศัลยแพทย์เชื่อมั่นว่าดีที่สุดสำหรับการเสริมหน้าอก ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้เป็นซิลิโคนแบบเจลแทนถุงน้ำเกลือเนื่องจากมีความปลอดภัยไม่เสี่ยงรั่วซึมในอนาคต สำหรับการผ่าตัดจะเป็นการวางยาสลบด้วยวิสัญญีแพทย์เฉพาะทาง
ศัลยกรรมเสริมหน้าอก Masterpiece Clinic
ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล
รีวิวเสริมหน้า Before – After Breast Augmentation By Masterpiece Clinic
Cohesive Gel Silicone สำหรับ เสริมหน้าอก คืออะไร ?
ปัจจุบันได้มีการเสริมหน้าอก (ทำนม) ด้วยซิลิโคนเจล Cohesive gel บางคนก็เรียกว่า Memory gel บ้างก็เรียกว่า Gummy bear gel เพราะความหมายที่สื่อออกมาก็คือ Gel ชนิด นี้มันคงรูปร่างหรือรูปทรงไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่นิยมมากกว่าถุงน้ำเกลือที่มีโอกาสรั่วซึม เพราะเมื่อเสื่อม Cohesive Gel จะไม่รั่วไหลออกมาสู่ร่างกาย และยังได้รับการรับรองจาก FDA แล้วว่าไม่เป็นอันตราย
รูปแบบของซิลิโคนมีแบบไหนบ้าง
- รูปทรงกลม Round Implant
- รูปทรงหยดน้ำ Shaped Implants
โดยผิวของซิลิโคนซิลิโคนที่นิยมใช้เวลาเสริมหน้าอกจะมีเปลือกหุ้มเป็นผิวสองแบบผิวเรียบ(smooth)ผิวขรุขระหรือที่ชอบเรียกว่าผิวทราย (Textured)
วิธีการผ่าตัดเสริมหน้าอก
Periareola หรือ ผ่าตัดบริเวณปานนม
- ต้องมีการผ่าตัดผ่านเนื้อเต้านม ทำให้อาจมีอาการชาของหัวนมได้ และอาจจะหมดความรูสึกในส่วนนี้ไป
- เทคนิคนี้ขนาดหัวนมต้องมีขนาดใหญ่พอ
- เหมาะกับบางรายที่มีผิวหนังที่ยืดหยุ่นได้ดีและหนาพอ ไม่เหมาะกับคนที่มีผิวบางเกินไปรวมไปถึงการใส่ซิลิโคนที่ใหญ่เกินไป
- ในคนเอเชียบริเวณขอบปานนมจะไม่เป็นที่นิยมเพราะจะเห็นแผลเป็นค่อนข้างชัด จะใช้วิธีซ่อนแผลรอบปานนม
Transaxillary หรือ ผ่าตัดบริเวณรักแร้
- บาดแผลจะซ่อนอยู่ทางใต้รักแร้ไปตามรอยพับของผิวหนัง ข้อดีคือสามารถซ่อนแผลเป็นได้ง่ายแผลบริเวณนี้มักใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้มีแผลบริเวณเต้านมเลย
- แต่ระยะทางจากรักแร้ถึงทรวงอกนั้นค่อนข้างไกล การเลาะพังผืด เนื้อเยื่อเพื่อใส่ซิลิโคนก็อาจทำให้เกิดการบอบช้ำได้มากกว่า
- วิธีนี้ไม่เหมาะกับการใส่ซิลิโคนชนิดหยดน้ำที่ต้องจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพราะลักษณะซิลิโคนที่ไม่สมมาตร การใส่จะต้องได้ตำแหน่งที่ถูกต้อง ฝั่งที่มีความนูนจะต้องอยู่กึ่งกลางพอดี
- ข้อเสียคือ มีโอกาสที่เต้านมซิลิโคนจะเคลื่อนขึ้นสูงกว่าปกติได้
- ปัจจุบันมีเทคนิคใส่ซิลิโคนโดยใช้กล้องสอดมาช่วย
Inframammary หรือ ผ่าตัดบริเวณใต้ราวนม
- แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณส่วนที่ต่ำสุดของเต้านม โดยจะซ่อนอยู่ในขอบชั้นใน เหมาะกับคนที่ชอบใส่เสื้อแขนกุด
- แพทย์สามารถจัดตำแหน่งของเต้านมที่เสริมและห้ามเลือดระหว่างผ่าตัดได้ เหมาะกับการเสริมเต้านมแบบทรงหยดน้ำ ทั้งนี้จะมีความบอบช้ำน้อย แผลโดยมากจะอยู่ในรอยพับระหว่าง เต้านมกับทรวงอกจึงมองแผลไม่เห็นชัด
- ข้อเสียคือจะมีแผลเป็นบริเวณหน้าอกซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบหรือกังวลใจ ว่าจะเห็นแผลได้ง่ายในเวลานอนหงาย
เสริมหน้าอกแบบเหนือกล้ามเนื้อ
ข้อดี
- ไม่มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมขณะที่มีการขยับกล้ามเนื้อ
- เจ็บน้อยกว่า(ในระยะแรก)ระยะพักฟื้นสั้นกว่า
- มองดูเป็นธรรมชาติมากกว่าถ้ามีเนื้อนมมากพอ
- สามารถใส่ซิลิโคนขนาดใหญ่มากๆ ได้
- การผ่าตัดแก้ไขทำได้ง่ายกว่าใต้กล้ามเนื้อ
- กรณีที่เต้านมคล้อยไม่มากอาจช่วยแก้ปัญหาเต้านมคล้อยทำให้ไม่ต้องทำการผ่าตัดกระชับเต้านม
ข้อเสีย
- ในรายที่ผิวหนังบางมีโอกาสคลำพบขอบเต้านมเทียมได้สูงกว่า
- มองเห็นขอบเต้านมเทียมได้มากกว่า
- ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้มากกว่า
- ถ้าเกิดผังผืดรัดจะมองเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะคนที่มีผิวหนังบาง
- ถ้ามีรอยพับของถุงเต้านมจะมองเห็นและคลำได้ชัดเจนกว่าโดยเฉพาะถุงที่เป็นผิวทราย
- โอกาสเกิดผังผืดหดรัดมีมากกว่า มีโอกาสที่เต้านมจะเคลื่อนที่ลงล่างได้มากกว่า
เสริมหน้าอกแบบใต้กล้ามเนื้อ
ข้อดี
- มีโอกาสคลำพบถุงเต้านมเทียมได้น้อยกว่า ข้อดีคือคลำไม่ได้ขอบ ดูเป็นธรรมชาติ
- ตัวเต้านมเทียมมีโอกาสคล้อยได้น้อยกว่า
- โอกาสเกิดเต้านมยานลงในอนาคตได้น้อยกว่า
- มักคลำไม่เจอรอยพับของถุงเต้านม (ยกเว้นถุงผิวทราย)
- ทำให้เต้านมจริงถูกเบียดน้อยกว่าหรือหดแฟบได้น้อยกว่า
- โอกาสเกิดผังผืดหดรัดน้อยกว่า
ข้อเสีย
- มีการเคลื่อนตัวของถุงเต้านมเทียมได้ขณะมีการขยับกล้ามเนื้อ
- เจ็บมากกว่า (ในระยะแรก)
- หน้าอกจะดูห่างกว่า
- เทคนิคการผ่าตัดยากกว่าเหนือกล้ามเนื้อ (โดยเปิดทางปานนมหรือราวนม)
- ใช้เวลานานกว่าจะเข้าที่แต่จากหลังที่เข้าที่จะดูเป็นธรรมชาติมาก
Endoscopic Breast Augmentation
“ วิธีการผ่าตัดเสริมหน้าอกผ่านกล้อง เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว ”
ศัลยแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดเปิดผิวหนังบริเวณใต้รักแร้ประมาณ 3-4 เซนติเมตร แล้วสอดกล้องเอ็นโอสโคปเข้าไปเพื่อเป็นการนำทางสายตา โดยภาพจะถูกส่งผ่านกล้องมายังจอมอนิเตอร์วิธีการนี้จะช่วยทำให้คนไข้มีแผลขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดใหญ่ตามกระบวนการ ศัลยกรรมแบบเดิม
ข้อดี
- แผลผ่าตัดขนาดเล็ก
- หลังผ่าตัดหากคนไข้ดูแลแผลดีก็จะมองไม่ค่อยเห็นชัดเจน หรือแทบสังเกตไม่เห็น
- ช่วยลดปัญหาการหดรั้งรอบถุงเต้านมเทียมหลังการเสริมหน้าอก
- สามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
ข้อเสีย
- ศัลยแพทย์จะต้องมีประสบการณ์และความชำนาญสูง
- บางรายจะรู้สึกเจ็บมากกว่าเนื่องจากมีการเปิดช่องว่างในถุงเต้านมในระยะทางที่ยาวกว่าใต้ราวนมหรือปานนม
- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเสริมหน้าอก
หลังเสริมหน้าอกสามารถให้นมบุตรได้หรือไม่ ?
หลังเสริมหน้าอกแล้ว สามารถให้นมบุตรได้ จากการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์พบว่า ไม่พบซิลิโคนในน้ำมารดาแต่อย่างใด แต่ในกลุ่มที่เสริมหน้าอกแล้วแผลผ่าตัดอยู่รอบๆปานนม อาจมีปัญหาบ้างในการให้นมบุตร นอกจากนี้ที่อาจพบได้เช่นเกิดเต้านมคัดเจ็บอักเสบ ซึ่งภายหลังอาจจะทำให้เป็นเยื่อพังผืดหดรัดได้(capsular contracture) การรับประทานยาปฏิชีวนะก็จะช่วยบรรเทาอาการไปได้ แต่ทางที่ดีเมื่อรู้สึกเจ็บเต้านม หรือเริ่มมีการอักเสบของเต้านม ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยทันที
ซิลิโคนที่ใส่ไปอยู่ได้นานขนาดไหน ?
แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตซิลิโคน (Implants) จะรับรองว่าสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตแต่ทางทางแพทย์แล้วไม่สามารถรับรองได้ เพราะวัสดุจากภายนอกที่ใส่เข้าไปในร่างกาย จริงๆแล้วไม่มีอะไรที่อยู่ได้ตลอดชีวิต อาจจะต้องมีการเปลี่ยน ถอดออก ใส่เข้าไปใหม่ แต่ระยะเวลาที่อยู่ในร่างกายของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน สุภาพสตรีบางท่านอาจจะต้องมาทำการผ่าตัดเปลี่ยน เมื่อระยะเวลาผ่านไป 10-20 ปี บางท่านอาจอยู่ได้นานกว่านั้นและไม่มีปัญหา ความผิดปกติใดๆเกิดขึ้นเลยก็เป็นไปได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
นอกจากนี้เหตุผลในการเปลี่ยนเต้านมเทียมของแต่ละคนก็ยังแตกต่างกันออกไป เช่นบางคนเปลี่ยนเพราะต้องการไซซ์ที่ใหญ่ขึ้น หรือต้องเปลี่ยนรูปทรงของเต้านมเทียม หรือบางครั้งเปลี่ยนเพราะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีการเคลื่อนที่อยู่ผิดตำแหน่งของเต้านมเทียม